คณะบริหารธุรกิจ จัดโครงการ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ในงาน ราชมงคลศรีวิชัยแฟร์ 2017
คณะบริหารธุรกิจ จัดโครงการ สืบสานศิลปวัฒนธรรม ในงาน ราชมงคลศรีวิชัยแฟร์ 2017
หลักเกณฑ์การประกวดร้องเพลงพระราชนิพนธ์/เพลงเกี่ยวกับพ่อ
โครงการ“สืบสานศิลปวัฒนธรรม”
ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
*******************
หลักเกณฑ์ในการรับสมัคร
1. ประชาชนทั่วไป (อายุ 15 ปี ขึ้นไป)
2. ผู้เข้าประกวดต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในการขับร้องมาเอง เช่น เสื้อผ้า รองเท้า เครื่องประดับ
3. ผู้เข้าประกวดต้องจัดเตรียม Sound ดนตรี (Backing Track) ที่ไม่มีเสียงนักร้อง โดยเป็น CD เทป หรือ MD มาเอง
4. ผู้เข้าประกวดต้องส่งหลักฐานในวันที่ยื่นใบสมัครเข้าประกวด ดังนี้
รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 2 ฉบับ
สำเนาทะเบียนบ้าน 2 ฉบับ
5. เปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 ถึงวันที่ 30 มกราคม 2560 (ยกเว้นวันหยุดราชการ)
ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
6. หลักเกณฑ์ในการประกวด
6.1 การประกวดเพลงพระราชนิพนธ์
- เพลงที่เลือกเข้าประกวดต้องเป็นเพลงพระราชนิพนธ์
- เพลงที่ใช้ประกวด จำนวน 1 เพลง
- เครื่องแต่งกายของผู้เข้าประกวดต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ วัย และสอดคล้องกับบทเพลงที่ใช้ในการประกวด
- ผู้เข้าประกวดต้องเตรียมตัวให้พร้อมในวัน เวลา ที่กำหนดทำการประกวด โดยเริ่มทำการประกวดตั้งแต่ เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณ ลานวัฒนธรรม อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา “ ถ้าผู้เข้าประกวดท่านใด ไม่มารายงานตัวในเวลาที่กำหนด ถือว่าท่านสละสิทธิ์”
5. การตัดสินของคณะกรรมการให้ถือว่าเป็นที่สุด
6.2 การประกวดเพลงเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ( สตริง ลูกทุ่ง )
- เพลงที่ใช้ประกวด จำนวน 1 เพลง
- เครื่องแต่งกายของผู้เข้าประกวดต้องเหมาะสมกับกาลเทศะ วัย และสอดคล้องกับบทเพลงที่ใช้ในการประกวด
- ผู้เข้าประกวดต้องเตรียมตัวให้พร้อมในวัน เวลา ที่กำหนดทำการประกวด โดยเริ่มทำการประกวดตั้งแต่ เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป ณ บริเวณ ลานวัฒนธรรม อาคารเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา “ ถ้าผู้เข้าประกวดท่านใด ไม่มารายงานตัวในเวลาที่กำหนด ถือว่าท่านสละสิทธิ์”
4. การตัดสินของคณะกรรมการให้ถือว่าเป็นที่สุด
หลักเกณฑ์การให้คะแนนตัดสินทั้ง 2 ประเภท
1. น้ำเสียง ความไพเราะ อักขระ ความชัดเจน 20 คะแนน
2. ความถูกต้องของทำนองในการขับร้อง 20 คะแนน
3. จังหวะถูกต้อง เข้ากับดนตรี 20 คะแนน
4. การถ่ายทอดอารมณ์เพลง เทคนิคการขับร้อง 20 คะแนน
5. ลีลา ท่าทาง การสื่อสารถึงถึงผู้ชม 20 คะแนน
รางวัลการประกวดทั้ง 2 ประเภท
รางวัลชนะเลิศ รางวัลละ 5,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 รางวัลละ 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2 รางวัลละ 2,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
รางวัลชมเชย 1 รางวัล รางวัลละ 1,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
*******************************************************************************
การแข่งขันโต้วาทีภาษาใต้ ปีที่ ๙
๑. กำหนดการจัดงาน
กำหนดการแข่งขันโต้วาทีภาษาใต้ ในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ ระหว่างเวลา ๐๙.๐๐ – ๑๗.๐๐ น. ณ คณะบริหารธุรกิจ อาคารเฉลิมพระเกียรติ ๗ รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย
๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น. ลงทะเบียน
๐๙.๓๐ - ๑๐.๐๐ น. จับฉลากคู่การแข่งขันและเตรียมความพร้อม
๑๐.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. เริ่มแข่งขันแต่ละทีม
๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น. พักเตรียมความพร้อม
๑๓.๐๐ – ๑๓.๓๐ น. แข่งขันรอบชิงชนะเลิศ
๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. ประกาศผลการแข่งขันและมอบเกียรติบัตร
หมายเหตุ : กำหนดการดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม
๒. คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน
๑.กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมปลาย ปวช ปวส. หรือ ปริญญาตรี (ในแต่ละทีมสามารถคละกันได้)
๒.อายุ ๑๖ - ๒๓ ปี ไม่จำกัดเพศ โดยต้องศึกษาอยู่ในสถาบันการศึกษาเดียวกันเท่านั้น
๓.สมาชิกของทีม ทีมละ ๓ คน
๓. กติกาและเกณฑ์การตัดสิน
๓.๑ กติกาและการตัดสิน
๑. สถาบันการศึกษาส่งนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง และปริญญาตรี เข้าแข่งขันเป็นทีม ทีมละ ๓ คน (ใน ๑ ทีม สามารถคละกันได้)
๒. รูปแบบของการแข่งขันโต้วาที
๒.๑ ใช้เวลาทีมละไม่เกิน ๑๐ นาที/รอบ โดยกำหนดดังนี้
- ผู้เสนอ ๓ นาที
- ผู้สนับสนุนคนละ ๒ นาที
- สรุป ๓ นาที
๒.๒ ญัตติที่ใช้ในการแข่งขัน
- รอบคัดเลือก ญัตติ
๑. เป็นครูนั้นแสนลำบากเป็นนักเรียนเหนื่อยยากกว่าหลายเท่า
๒. ผู้ชายร้ายกว่าผู้หญิง
๓. คนฉลาดมีโอกาสมากกว่าคนรวย
๔. รับน้องดีแน่ แต่ไม่รับดีกว่า
๕. เป็นเมียพระอภัย สำราญใจกว่าเมียขุนแผน
๖. ท่องอินเตอร์เน็ตเด็ดกว่าท่องหนังสือ
๗. ปัญหายาเสพติดแผลงฤทธิ์กว่าปัญหาการพนัน
๘. ขยันเรียนดีกว่าเซียนกิจกรรม
๙. นางร้ายในวรรณคดีไทยน่าพิศมัยกว่านางเอก
๑๐. สวยธรรมชาติดีกว่าศัลยกรรม
- รอบชิงชนะเลิศ ญัตติ
- “ชื่นชมวัฒนธรรมไทยดีกว่าคลั่งไคล้วัฒนธรรมต่างชาติ”
๓. การประกวดมี ๒ รอบ
- รอบคัดเลือก ตัดสินเหลือ ๒ ทีม โดยคัดเลือก ๒ ทีม ที่ได้คะแนนรวมมากที่สุด
- รอบตัดสิน ตัดสินโดยคะแนนรวมของแต่ละทีม โดยถือเอาการตัดสินใจของกรรมการ
เป็นที่สุดของการตัดสิน
๔. ผู้สมัครแข่งขันต้องเข้าร่วมแข่งขันตามวัน เวลา และสถานที่ที่ผู้จัดกำหนดไว้ หากไม่สามารถ มาตามกำหนด จะถือว่าสละสิทธิ์
๕. ผู้สมัครจะต้องเตรียมอุปกรณ์นำเสนอมาให้พร้อม
๓.๒ หลักเกณฑ์การตัดสิน
คณะกรรรมการจะพิจารณาความสามารถของผู้เข้าประกวด โดยมีคะแนนเต็มทั้งสิ้น ๑๐๐ คะแนน โดยแบ่งออกเป็น
๑. มารยาท บุคลิกภาพ ๑๐ คะแนน
๒. หลักฐานอ้างอิง ๒๐ คะแนน
๓. เหตุผลในการหักล้าง ๒๐ คะแนน
๔. เนื้อหาสาระ ๒๐ คะแนน
๕. การใช้ภาษาหรือลูกเล่น ๓๐ คะแนน
คะแนนรวม ๑๐๐ คะแนน
๓.๓ รางวัลประเภทต่างๆ
๑. รางวัลชนะเลิศ ทุนการศึกษา ๓,๐๐๐ บาท
๒. รองชนะเลิศอันดับที่หนึ่ง ทุนการศึกษา ๒,๕๐๐ บาท
๓. รองชนะเลิศอันดับที่สอง ทุนการศึกษา ๒,๐๐๐ บาท
๔. รางวัลชมเชย ทุนการศึกษา ๕๐๐ บาท
*** ผู้เข้าแข่งขันจะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมการแข่งขันการโต้วาทีภาษาใต้ทุกคน ***
หมายเหตุ
วันที่จัดการแข่งขัน และสถานที่แข่งขัน อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม ซึ่งหากมี การเปลี่ยนแปลงใดๆ ผู้จัดจะแจ้งให้ทราบล่วงหน้าอย่างน้อย ๗ วัน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการ จัดงานอย่างดีที่สุด รับสมัครตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป หมดเขตรับสมัครวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๐
** สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายพัฒนานักศึกษา คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย โทรศัพท์ ๐ - ๗๔๓๑ - ๖๑๗๖
ผู้ประสานงาน พิมพ์อักษร แก้วภักดี โทร.๐๘ – ๔๓๐๐ – ๕๖๖๕
E-mail : pattanafba@gmail.com