ระหว่างวันที่ 13-14 สิงหาคม 2567

ณ โรงแรม บีพี สมิหลา บีช

ประเภทนักศึกษา 

1.  รูปแบบกิจกรรม  

1.1 การประกวดแข่งขัน Pitching ผลงานผู้เรียนสู่การเป็นผู้ประกอบการ ระดับมหาวิทยาลัย 5 มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย

              – มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย

              – มหาวิทยาลัยทักษิณ สงขลา

              – มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา

              – มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

              – มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

1.2 การประกวดแข่งขันโดยนำเสนอไอเดีย (Idea Building for Startup) ตามแนวคิดโมเดลธุรกิจ Startup โดยใช้เครื่องมือ Lean Canvas หรือ Business  Model Canvas ภายใต้โจทย์ ดังนี้ 

              1. ด้านนวัตกรรมไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยว (Lifestyle & TravelTech)  

              2. ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีอาหารและการเกษตร (FoodTech & AgriTech)

              3. ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HealthTech)

              4. ด้านนวัตกรรมศิลป์ (ArtTech)   

2.  วัตถุประสงค์ในการจัดการแข่งขัน :

2.1 เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผู้เรียนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิด หลักการ และเทคนิคการเป็นผู้ประกอบการ

2.2 เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษากับผู้ประกอบการ

2.3 เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษามีเวทีในการนำเสนอผลงานและเกิดทักษะในการทำงานเป็นทีมร่วมกัน

3.  กำหนดระยะเวลา

  • เปิดรับสมัคร และส่งผลงานเข้าร่วม ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน –  21 กรกฎาคม 2567

3.2 ประกาศผู้ผ่านการคัดเลือกในการนำเสนอ  วันที่ 24 กรกฎาคม 2567

3.3 วันประกวดผลงาน และนำเสนอผลงาน ในระหว่างวันที่ 13 – 14 สิงหาคม 2567

     ณ โรงแรมบีพี สมิหลา บีช

4.  คุณสมบัติและจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม

4.1 ผู้เข้าแข่งขันต้องเป็นผู้ที่กำลังศึกษาในระดับอุดมศึกษา

4.2 สมาชิกนักศึกษา นิสิต ทีมละ 3 – 4  คน (สมาชิกในทีมทุกคนเตรียมสำเนาบัตรนักศึกษา)

4.3 อาจารย์ที่ปรึกษาผลงาน จำนวน 1 – 2 ท่าน

4.4 ผู้เข้าแข่งขันที่มีคุณสมบัติไม่ครบหรือไม่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดจะถูกตัดสิทธิการเข้าร่วมแข่งขัน

4.5 รับจำนวน 30 ทีม ต่อกิจกรรม

หมายเหตุ: กรณีมีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อสมาชิกในกลุ่ม ให้แจ้งผู้ประสานงานทราบภายในวันที่  31 กรกฎาคม 2567

5.  กติกาการแข่งขัน :    

 5.1 แต่ละทีมมีเวลาในการ Pitching นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ 7 นาที และตอบคำถามคณะกรรมการ 5 นาที

5.2 การให้คะแนนเป็นไปตามเกณฑ์การให้คะแนนโดยมีกรรมการทั้งหมด 12 ท่านในการพิจารณาและให้คะแนน  โดยแบ่งเป็นกรรมการตัดสินด้านละ จำนวน 3 ท่าน  ซึ่งมาจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนตามศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง

6.  เกณฑ์การให้คะแนน  

หัวข้อคะแนน
1) ความเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยี :  มีความเป็นนวัตกรรม/มีความคิดสร้างสรรค์/ มีความแปลกใหม่/ การใช้เทคโนโลยี/ความเป็นไปได้ทางเทคโนโลยี20
2) ศักยภาพด้านการตลาด : ข้อมูลเกี่ยวกับปัญหาและโอกาส / กลุ่มลูกค้า/ ความต้องการของตลาดและขนาดของตลาด20
3) ความเป็นไปได้ทางธุรกิจ : ผลงานมีความเป็นไปได้ทางธุรกิจและโอกาสขยายผลเชิงพาณิชย์/ ความสามารถในการแข่งขันทางการค้า/ ความเหมาะสมของการตั้งราคา/วิเคราะห์ต้นทุน และกำไร30
4) การบริการจัดการองค์กรและกลยุทธ์ : กลยุทธ์การดำเนินงานของธุรกิจ20
5) การนำเสนอ10
รวม100

7. วัสดุอุปกรณ์ ที่ผู้ร่วมแข่งขันต้องเตรียมมาเอง :

 7.1 เครื่องคอมพิวเตอร์พกพา (Notebook)

 7.2 อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเสนอ

      หมายเหตุ:  ทางคณะผู้จัด ได้จัดเตรียมอุปกรณ์หลักในการนำเสนอไว้ให้ แต่เพื่อความสะดวกของทีมนักศึกษาสามารถใช้คอมพิวเตอร์พกพา (Notebook) ของตนเองเพื่อใช้ในการนำเสนอได้

8. รางวัล : ประกาศผลรางวัลสำหรับนักศึกษา

      8.1 เกณฑ์การพิจารณาเหรียญรางวัลในการรับเกียรติบัตร ดังนี้

              ทีมที่ได้คะแนนตามเกณฑ์จะได้เกียรติบัตรระดับเหรียญดังนี้

              ▶ ช่วงคะแนน 80-100 คะแนน ระดับเหรียญทอง

              ▶ ช่วงคะแนน 70-79   คะแนน ระดับรางวัลเหรียญเงิน

              ▶ ช่วงคะแนน 60-69   คะแนน ระดับรางวัลเหรียญทองแดง

              หมายเหตุ : ทุกทีมที่เข้าร่วมการแข่งขัน ที่มีคะแนนถึงเกณฑ์และไม่ถึงเกณฑ์จะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมการแข่งขัน

      8.2. เกณฑ์รางวัล

              ▶ รางวัลชนะเลิศ ได้คะแนนสูงสุด

              ▶ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้คะแนนรองจากรางวัลชนะเลิศ

              ▶ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้คะแนนรองจากรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1

              ▶ รางวัลชมเชย ได้คะแนนรองจากรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2

      8.3 เกณฑ์เงินรางวัล

              ▶ ชนะเลิศ                 เงินรางวัล 4,000 บาทต่อทีม

              ▶ รองชนะเลิศอันดับ1    เงินรางวัล 3,000 บาทต่อทีม

              ▶ รองชนะเลิศอันดับ2    เงินรางวัล 2,000 บาทต่อทีม

              ▶ รางวัลชมเชย 1         เงินรางวัล 1,000 บาทต่อทีม

              ▶ รางวัลชมเชย 2         เงินรางวัล 1,000 บาทต่อทีม

              หมายเหตุ: กิจกรรมการประกวดทั้ง 4 ด้าน ใช้เกณฑ์การพิจารณารางวัลเดียวกัน  

รายละเอียดกิจกรรมการแข่งขัน

 กิจกรรมที่ 1 ด้านนวัตกรรมไลฟ์สไตล์และการท่องเที่ยว (Lifestyle & TravelTech)  

                นวัตกรรมการท่องเที่ยว : การนำแนวคิดใหม่  สร้างสรรค์สิ่งใหม่ เทคโนโลยีใหม่ มาใช้ในการพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยการสร้างรูปแบบ วิธีการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีประโยชน์แก่การท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับประโยชน์และมีทางเลือกท่องเที่ยวที่หลากหลายขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจสามารถเปิดตลาดใหม่ พัฒนาช่องทางการจัดจำหน่าย สร้างความเป็นเลิศในการแข่งขันและสร้างความพึงพอใจแก่นักท่องเที่ยว

                นวัตกรรมไลฟ์สไตล์ : เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่  เทคโนโลยีใหม่ แนวความคิดใหม่ วิธีการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เกี่ยวข้องกับด้านไลฟ์สไตล์ (lifestyle) และความบันเทิง (entertainment) ที่มีประโยชน์ เพื่อสร้างประสบการณ์และสิ่งที่น่าสนใจในการใช้ชีวิต  การสันทนาการ  สร้างความสะดวกสบาย ความมีคุณภาพ และความสนุกสนานให้กับผู้ใช้งาน

กิจกรรมที่ 2 ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีอาหารและการเกษตร (FoodTech & AgriTech)

                นวัตกรรมเทคโนโลยีอาหาร : การสร้างสรรค์สิ่งใหม่  เทคโนโลยีใหม่ แนวความคิดใหม่ วิธีการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มีประโยชน์ทางด้านอาหารโดยมุ่งเน้นไปที่การเก็บรักษาหรือแปรรูปอาหาร/วัตถุดิบอาหาร/ ผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกพืชผัก รวมถึงผลผลิตที่ได้จากการทำปศุสัตว์ และสร้างคุณค่าเพิ่มและปรับปรุงประสิทธิภาพในด้านอาหาร โดยพัฒนาให้สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าในปัจจุบัน

                นวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตร : นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่  เทคโนโลยีใหม่ แนวความคิดใหม่ วิธีการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่มีประโยชน์ ในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตพืชผลทางการเกษตรหรือปศุสัตว์ เน้นการใช้เทคโนโลยีอัตโนมัติ ระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้องทางการเกษ๖ร  ช่วยลดการใช้ทรัพยากรที่จำเป็น ลดการใช้สารเคมีที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตทางการเกษตรที่รวดเร็ว ปลอดภัย สะดวก ประหยัดต้นทุนมากยิ่งขึ้น

กิจกรรมที่ 3 ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ (HealthTech)

      นวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ : การสร้างสรรค์สิ่งใหม่  เทคโนโลยีใหม่ แนวความคิดใหม่ วิธีการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่เป็นประโยชน์ในการดูแล สร้างเสริมสุขภาพของผู้ใช้บริการ ภายใต้การออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยโรค การรักษา การดูแลรักษา และการป้องกันโรคและภัยคุกคามต่างๆ ซึ่งสามารถเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของบุคคล และระบบสุขภาพที่มีอยู่ในสังคมทั้งในระดับบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปได้

กิจกรรมที่ 4 ด้านนวัตกรรมศิลป์ (ArtTech)      

      นวัตกรรมศิลป์ : การสร้างสรรค์สิ่งใหม่  เทคโนโลยีใหม่ แนวความคิดใหม่ วิธีการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการ ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ  ในการออกแบบ หรือการสร้างสรรค์ผลงาน การนำศิลปะไปใช้ในสถานที่หรือสภาพแวดล้อมที่ไม่เคยมีมาก่อน การผสมผสานศิลปะและเทคโนโลยีใหม่เข้าด้วยกัน  เป้าหมายของนวัตกรรมด้านศิลป์คือการสร้างผลงานที่ไม่เคยมีมาก่อนและน่าสนใจ

10. ช่องทางการติดต่อ

ผู้ประสานงาน

          – นางสาวนนลษร  ดำเป็นไฝ  โทร. 08 3241 4875 E-Mail : nonlasorn.b@rmutsv.ac.th

ดาวน์โหลดใบสมัคร
https://drive.google.com/drive/u/2/folders/1gD57wCTyAYpkDi1ygPehENmj5BJ45LiD

สมัครเข้าร่วมโครงการ https://forms.gle/TYkGE5HocL5J74EG7

QR Line สอบถามข้อมูล ID Line : @108pexei (ใส่ @ ในการค้นหา)